วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ input

ได้แก่                    
                1. คีย์บอร์ด (keyboard) 
                    ใช้พิมพ์คำสั่ง หรือป้อนข้อมูล มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์มากกว่า
        2. เมาส์ (mouse)
           ใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่นเดียวกับการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด
          เมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์โดยส่งไปยังสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์   แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
        2.1 เมาส์แบบกลไก (Mechanical) โดยจะใช้ลูกบอลกลมๆ บรรจุอยู่ภายในตัวเมาส์ ทำหน้าที่คอยเปลี่ยนการลากเมาส์ ให้เป็นการหมุนล้อ กลไกภายในตัวเมาส์ เพื่อแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
Featured image
         
              2.2 เมาส์แบบใช้แสง (Optical) เป็นแบบที่ใช้แสงส่องลงไปที่พื้นแล้วสะท้อนกลับมาที่ตัวรับเพื่อวัดการเลื่อนตำแหน่ง ถ้าเป็นรุ่นใหม่จะสามารถใช้กับพื้นผิวได้แทบทุกแบบFeatured image
          
          2.3 แบบไร้สาย (Wireless Mouse) มีการทำงานเหมือน เมาส์ทั่วไป เพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัวเมาส์ ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อแบบ USB ที่ในปัจจุบันใช้แบบ Nano receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุที่ 2.4 GHz


            3. สแกนเนอร์ (scanner)
           อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป        
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ scanner

             4.อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
            ระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ คือ ระบบที่ต้องใช้ลายนิ้วมือ ของบุคคลที่ได้รับการอนุญาต หรือบุคคลที่ได้ทำการบันทึกลายนิ้วมือ ลงไว้ในตัวเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานต่างๆ แล้วซึ่งหากบุคคลใดไม่ได้มีการบันทึกลายนิ้วมือลงไว้ในตัวเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ก็จะไม่สามารถเข้าไปใช้งานระบบที่ต้องมีการสแกนลายนิ้วมือนี้ได้



อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ process

ได้แก่
              ซีพียู (CPU)
            คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ ตัวที่อินเทอรัพการแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
                    หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
             1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
       เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
        2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)

                  เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 
             1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป 

         2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล 
                3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ 
               4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ


               เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) 
                เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด" ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

  ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
  ชิปเซ็ต (Chip set)
  ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
  ระบบบัสและสล็อต
  Bios
  สัญญาณนาฬิกาของระบบ
  ถ่านหรือแบตเตอรี่
  ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
  ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
  จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของ      เมนบอร์ด
  ขั้วต่อ IDE
  ขั้วต่อ Floppy disk drive
  พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
  พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
  พอร์ต USB


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ output

ได้แก่
              1. จอภาพ (Monitor) 
            เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและนิยมใช้เพื่อแสดงเอาต์พุต ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว จอภาพมีหลายชนิดด้วยกัน คือ
              1.1 จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT) เป็นจอภาพสัญญาณแบบอนาล็อก ถูกพัฒนาจากจอภาพโทรทัศน์ การทำงานจะเกิดความร้อนสูง
         1.2 จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display: LCD) เป็นจอภาพที่ใช้วัตถุแบบผลึกเหลว (Liquid Crystal) แทนการใช้หลอดภาพและใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ใน การผลิแสงสว่าง
            2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เอาต์พุตมาตรฐานชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ลงในกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ


       2.1 เครื่องพิมพ์แบบดอทเมทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกผ้าหมึกเพื่อให้เกิดจุดรวมกัน เป็นตัวอักษร ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ได้รับความนิยมน้อยลง



                                     
             2.2 เครื่องพิมพ์แบบบรรทัด (Line Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ ์แบบดอทเมทริกซ์ แต่จะพิมพ์เป็นบรรทัด ซึ่งแตกต่างการพิมพ์แบบดอทเมทริกซ์ที่พิมพ์ทีละตัวอักษร


               3. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพ่นหมึก สามารถพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและรูปภาพ ความเร็วของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้พิจารณาจาก จำนวนแผ่นที่พิมพ์ได้ในเวลา 1 นาที (Page Per Minute : PPM)                                                   

              
       4. เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่นินมใช้กับงานพิมพ์เอกสารทั่วไป สามารถพิมพ์ได้คมชัดและเร็ว หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คล้ายกับ เครื่องถ่ายเอกสารโดยใช้ผงหมึกที่บรรจุไว้ในตลับ (Toner) ความเร็วของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ พิจารณาจากจำนวนแผ่นที่พิมพ์ในเวลา 1 นาที (Page Per Minute: PPM)

                               
      5.พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์เอาต์พุตที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในงานด้านกราฟิกสามารถแสดงผลงานกราฟิกทางเครื่องพิมพ์ ์ทำไม่ได้นั้นคืองานที่ต้องใช้กระดาษแผ่นใหญ่ คุณภาพทางกราฟิกซับซ้อน เช่น พิมพ์เขียว แผนผังเมือง แผนผังการเดินสายไฟฟ้าอาคารขนาดใหญ่ ฯลฯ


                                                                                     
              6.ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์เอาต์พุตที่ใช้แสดงข้อมูลประเภทเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยต้องใช้คู่กับอุปกรณ์ การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นตัวเชื่อมระหว่างลำโพงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกไปยังลำโพง


           


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ

ได้แก่
           1.ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง


                2.CD (Compact Disc) เป็นสื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก
               
                3.DVD (Digital Versatile Disc/Digital Video Disc) ผลิตมาเพื่อตอบสนองกับงานเก็บข้อมูลความจุสูง เช่น เพลงหรืองานมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงและคมชัดมากที่สุด การเก็บข้อมูลจะมีการแบ่งออกเป็นชั้น ๆ เรียกว่า เลเยอร์ (Layer ) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน(sides)ความจุของ DVD จะมีมากกว่า CD หลายเท่าตัว โดยมีตั้งแต่ 4.7 GB - 17 GB 
               
               4.แฟรช(Flash memory device) ปัจจุบันนำมาใช้บันทึกแทนสื่อเก็บข้อมูลแบบดิสเก็ตต์มากขึ้น เพราะจุข้อมูลได้มากกว่า นิยมใช้กับเครื่องพีซีและคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น flash drive, thumb drive หรือ handy drive โดยสามารถต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์และอ่านค่าข้อมูลนั้นได้โดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น